The Return of Bastard Swordman - กระบี่ไร้เทียมทาน 2






มุมมองของผม...
ภาพยนต์ กระบี่ไร้เทียมทาน ภาค 2 การกลับมาของฮุ้นปวยเอี๊ยง
ใครที่เคยได้ชม ละครโทรทัศน์ กระบี่ไร้เทียมทาน และยอดยุทธจักรมังกรฟ้า มาแล้ว
ได้ชมเรื่องนี้ ผมว่า.. รับรองคงจะตาตั้ง และขำก๊าก
เนื่องด้วยตัวเนื้อเรื่อง เรียกได้ว่า ออกทะเลไปกันใหญ่
แล้วกลับกลายเป็นว่า ตัว ฮุ้นปวยเอี๊ยง ตัวละครเอกของเรื่อง กระบี่ไร้เทียมทาน
มาภาคนี้ เกือบจะกลายเป็นแค่ตัวประกอบไปเลย
เพราะน้ำหนักส่วนใหญ่ ไปอยู่ที่หมอดูเทวดา แทน
เข้าใจว่า เรื่องนี้ ผู้สร้าง คงต้องการตามรอยความดัง และความสำเร็จที่ได้รับจากภาค 1
และอาจไม่ทราบว่า จะไปผูกเรื่องอย่างไรดี
ทำให้เรื่องราวในตัวภาพยนต์ ตลกไปกันใหญ่ เพราะมีทั้งเจอนินจาญี่ปุ่น เจอพลังอกกระเพื่อม (วิชากระชากใจ.. เวรกรรม)
ถามว่าสนุกไหมเนี่ยสรุปแล้ว..
ตอบได้ว่า ก็ดูได้เรื่อย ๆ ครับ กับอรรถรสที่แปลกออกไป
แทนที่จะจริงจัง ดุเดือด มันสุด ๆ กลายเป็นว่า มีมุขตลกเป็นระยะ
ก็คลายเครียดไปได้ชั่วครั้ง ชั่วคราวครับ เรื่องนี้...
********************************************




Return of The Bastard Swordman(1984)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Country : Hong Kong
Year : 1984
Studio : Shaw Brothers
Starring :
Norman Chu Siu Keung, Alex Man Chi Leung, Anthony Lau Wing, Chen Kuan Tai
Goo Goon Chung, Lo Lieh, Kong Do, Lau Siu Kwan, Liu Lai Ling, Sun Chien
(ฉีเส้าเฉียน, หลิวหยง, ว่านจื่อเหลียง, หลิวเซียะหัว, เฉินกวนไท้, กู่กวนจง, ซุนเจี้ยน, Wilson Tong)
Director : Tony Liu Jun Guk
Action Director : Tony Liu Jun Guk, Yuen Tak
Genre : Action, Wire-Fu
Media Type : DVD-5
Region : Zone 3
Video Format : Pal, Wide Screen
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หลังจากภาคแรกฉายได้หนึ่งปีภาคต่อก็ตามมา ว่าภาคแรกออกทะเลแล้ว หนังภาคสองที่ใช้ชื่อว่า The Return of Bastard Swordman ถือว่าก้าวหน้าในความมั่วนิ่มไปอีกขั้น เรียกว่าออกทะเลกันไปถึงใจกลางมหาสมุทรเลย หนังเล่าเรื่องวนเวียนอยู่กับความแค้นระหว่างฮุ้นปวยเอี้ยง ต๊กโกบ้อเต็ก โดยมีพวกนินจาญี่ปุ่น สำนึกอีกะ ที่ต้องการมาประการความยิ่งใหญ่ในจีน เป็นตัวยุแยงตะแคงรั่วด้วยการสังหารศิษย์บู๊ตึ้ง แล้วป้ายความผิดให้ต๊กโกบ้อเต็ก โดยเนื้อเรื่องเข้าใจว่าเป็นการเอานิยายกำลังภายในอีกเรื่องมาเติมเข้าไป ซึ่งนิยายเรื่องที่ว่าก็คือ "พยากรณ์ประกาศิต" ของนักประพันธ์ชาวมาเลเซียที่ชื่อว่า อุงสุยอัน (อุนเลี้ยงเง็ก)

หนังใส่มุขตลกเข้าไปมากขึ้น มีเนื้อหาประเภทตามหาหมอเทวดาถึงแม้จะออกทะเลไปบ้างแต่รวมๆ แล้วหนังกลับดูสนุกไปอีกแบบ เพราะหนังมีเนื้อเรื่องที่คาดเดาไม่ได้ หมอดูเทพ ก็สร้างความแตกต่างจากภาคแรกได้ดี


หนังมีดาราจากภาคแรกเข้ามาพอสมควร แม้กระทั่ง กู่กวนจง กับหลิวหยุน ที่ตัวละครที่ทั้งคู่ตายไปแล้วในภาคแรกก็ยังอุตส่าห์กลับมาใหม่ด้วยตัวละครใหม่ กู่กวนจง เป็นนักฆ่าจากญี่ปุ่น ส่วนหลิวหยุนเป็นหมอดูเทพ ลี้โปวอี ที่มารับบทเป็นคู่หูของพระเอก ว่านจื่อเหลียงกลับมาเป็นต๊กโกบ้อเต็ก ซึ่งกลายเป็นตัวละครที่น่าสนใจที่สุดในหนังภาคนี้เพราะ ตัวละครที่เค้าเล่นได้แสดงถึงแง่มุมแห่งความอ่อนแอของผู้เข้มแข้งได้น่าสนใจดี


ตัวละครใหม่ที่ค่อนข้างเด่นก็คือ เจ้าสำนักญี่ปุ่นแสดงโดยเฉินกวนไท้ ที่กลายมาเป็นคู่ปรับอันดับหนึ่งของพระเอกในหนังภาคนี้ แต่นอกจากจะไม่แกรงขรามแล้วตัวละครของเฉินกวนไท้ ยังออกแนวฮาโดยไม่ตั้งใจอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะในการต่อสู้ เช่น การใช้ดาวกระจายอันใหญ่ยักษ์ หรือ ท่าไม้ตาย "พลังมารกระฉากใจ" ฟังดูโหดเพราะเป็นวิชาที่บังคับการเต้นของหัวใจของศัตรูจนสามารถควบคุมให้หัวใจศัตรูนั้นทะลุออกจากร่างมาได้ แต่สิ่งสิ่งที่ฮาเวลาเฉินกวนไท้ใช้วิชานี้ก็คือ เอฟเฟคที่จะเอาหลอดไฟไปยัดในอกเสื้อเฉินกวนไท้เอง แล้วกระพริบตามจังหวะเต้นของหัวใจ แถมช่วงหลังใช้วิชาแบบรุนแรงเข้าหน้าเสื้อก็จะยุบๆ พองๆ แบบอึ้งอ่าง ดูแล้วฮาแทนที่จะโหดซะอย่างงั้น













ส่วนตัวของพระเอกฮุ้นปวยเอี้ยง กลับมีบทบาทน้อยไปหน่อยโผล่มาบาดเจ็บตอนต้น โดนห่ามอยู่ค่อนเรื่องก่อนจะกลับมามีบทบาทอีกในตอนท้าย น่าจะเป็นเพราะว่าช่วงนั้นตารางการทำงานของฉีเส้าเฉียนค่อนข้างจะรัดตัว น่าจะมีเวลาให้กับหนัง The Return of Bastard Swordman ไม่มากพอ ทำให้บทพระเอกของเค้ามีค่อนข้างเบาบาง และต้องดันให้หลิวหยุนที่มาแสดงเป็นหมอดูเทพ ลี้โปวอี มากลายเป็นพระเอกคู่ด้วย
อาจจะดูเหมือนมีแต่ข้อด้อย แต่จริงๆ แล้ว Bastard Swordman ก็เป็นหนังที่ดูสนุกใช้ได้ โดยเฉพาะถ้าทำใจลืม กับความเชยของหนังไปได้ และมองข้ามข้อด้อยเรื่องการเล่าเรื่องของหนังไปได้ สิ่งที่ทำให้ The Bastard Swordman ดูสนุกและเป็นงานที่น่าจดจำสำหรับยุคสมัยนั้นก็คือ ความสุดขั่วในการสร้างฉากแอ็กชั่นแบบไม่กลัวว่าหนังจะไม่สมจริงสมจัง ไม่ว่าจะเป็นเอฟเฟคการปล่อยแสง ควันสี น้ำแข็งแห้ง อุปกรณ์ประกอบเรื่องแบบแปลกแหวกแนว และบรรดาแอฟเฟคบ้านๆ อีกมากมาย ที่ขนกันมาใช้ แต่ที่เด่นที่สุดก็คือ การใช้ลวดสลิง พูดถึงหนังกำลังภายประเภทที่ใช้ลวดมาช่วยในฉากแอ็กชั่นนั้น ถึงกับมีชื่อเรียกเฉพาะหนังแนวนี้เลยว่า Wire-Fu ส่วนใหญ่หมายถึงหนังที่ใช้ลวดสลิง แบบไม่บันยะบังยัง เหาะเหินเดินอากาศ กันแบบไม่สนใจความสมจริงใดๆ ประเภทการเหาะแล้วเลี้ยวกลางอากาศอะไรทำนองนี้













Bastard Swordman ถือได้ว่าเป็นหนัง Wire-Fu ที่ดังที่สุดเรื่องหนึ่งแห่งยุค ฉากต่อสู้บนลวดสลิงในหนังทั้งมากไปด้วยจำนวน และความคิดสร้างสรรค์ เรียกว่าดูสนุกแบบไม่มีเบื่อกันตลอดทั้งเรื่องเลย โดยถ้าเทียบแล้วคิวบู๊ในหนังภาคแรกดีกว่า ภาคสองอย่างเห็นได้ชัด
สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ ในปี 1983 - 1984 ที่ Bastard Swordman สร้าง และออกฉายนั้น หนังกำลังภายในของชอว์บราเดอร์กลายเป็นของล้าสมัยไปแล้ว ภาษาหนังที่ดูเชย ฉากในสตูดิโอของชอว์ที่ช้ำเต็มทนแล้ว ถ้าลองเทียบ Bastard Swordman กับหนังแนวเดียวกันที่ฉายในช่วงนั้นอย่าง Death of The Dual (ท้าฟัน, 1982) ถึงแม้จะมีองค์ประกอบบางอย่างคล้ายกัน ดารานำคนเดียวกัน (ฉีเส้าเฉียน) จะพบว่า Bastard Swordman ด้อยกว่าทุกมุมทั้งเทคนิค คิวบู๊ มุมมองใหม่สำหรับหนังแนวนี้ หรืออย่างง่ายๆ แค่ความแตกต่างระหว่างการถ่ายทำ Outdoor กับในสตูดิโอ ก็สร้างความสมจริงให้กับ Death of The Dual มากกว่าหนังรุ่นก่อนๆ ของชอว์บราเดอร์รวมถึง Bastard Swordman แบบมากมายมหาศาลแล้ว เมื่อได้ดู Bastard Swordman แล้วอาจจะต้องยอมรับว่าเมื่อมาถึงวันปิดฉากของหนังกังฟู และกำลังภายในแบบชอว์บราเดอร์ สิ่งเดียวที่ ชอว์สตูดิโอ และแฟนๆ จะทำได้ก็คือต้องยอมรับมัน
Lu Chun-Ku (บางครั้งใช้ชื่อว่า Tony Liu Jun-guk) ถือเป็นผู้กำกับหนังกำลังภายในรุ่นสุดท้ายของชอว์บราเดอร์ก็ว่าได้ ถึงแม้จะไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรนัก แต่ผลงานของ Lu Chun-Ku ก็ถือว่ามีคุณภาพ และน่าจะได้รับเครดิตในการพยายามแสวงการแนวทางใหม่ๆ ให้กับหนังกำลังภายในของชอว์บราเดอร์ โดยไม่ละทิ้งแนวทางเดิมๆ หนังที่ถือว่าเป็นงานเด่นของเค้าก็เช่น Ambitious Kung Fu Girl (1982), Holy Flame of the Martial World (1983), Secret Service of the Imperial Court (1984)
สำหรับ Bastard Swordman ด้วยคุณภาพของตัวหนังอาจจะอยู่แค่กลางๆ ค่อนไปทางล่าง แต่เพราะความโด่งดังของนิยาย กับหนังทีวีต้นฉบับ บวกกับความน่าสนใจของเอฟเฟค และฉากต่อสู้ Bastard Swordman จึงกลายเป็นงานที่คนอาจจะจำได้มากที่สุดของผู้กำกับท่านนี้ไปโดยปริยาย

link ที่เกี่ยวข้อง :
































































...


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีใส่เนื้อเพลงใน MP3

Karate-Robo Zaborgar

10 โปรแกรมฟรีไว้จัดการกับฟอนต์ในเครื่อง