Biometrics


(ขอขอบคุณข้อมูลจาก  https://sites.google.com/site/bixometrik/bi-xo-metrik)

ไบโอเมตริกซ์

Biometrics เป็นเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ผสมผสานเทคโนโลยี ทางด้านชีวภาพ และทางการแพทย์ กับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน  โดยการตรวจวัดคุณลักษณะทางกายภาพ (Physical Characteristics) และ ลักษณะทางพฤติกรรม (Behaviors) ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละคน มาใช้ในการระบุตัวบุคคลนั้น ๆ แล้วนำสิ่งเหล่านั้น มาเปรียบเทียบกับคุณลักษณะที่ได้มีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลก่อนหน้านี้ เพื่อใช้แยกแยะ บุคคลนั้นจากบุคคลอื่น ๆ
 
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นเทคโนโลยีที่สำหรับยืนยันตัวบุคคลด้วยการเปรียบเทียบ Pattern ของ Physical หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ด้วยคอมพิวเตอร์


Biometrics สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ 
  • การใช้ลักษณะทางกายภาพ (Physiological Biometrics) 
  • การใช้ลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioural Biometrics) ในการระบุตัวบุคคล

 
ลักษณะทางกายภาพ (Physiological Biometrics) ได้แก่
  • ลายนิ้วมือ Fingerprint
  • ลักษณะใบหน้า Facial Recognition 
  • ลักษณะของมือ Hand Geometry
  • ลักษณะของนิ้วมือ Finger Geometry
  • ลักษณะใบหู Ear Shape
  • Iris และ Retina ภายในดวงตา
  • กลิ่น Human Scent
 
 



ลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioural Biometrics)
  • การพิมพ์ Keystroke Dynamics 
  • การเดิน Gait Recognition
  • เสียง Voice Recognition
  • การเซ็นชื่อ Signature


คุณลักษณะทางกายภาพของคนเรา ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในขณะที่พฤติกรรมของมนุษย์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ไม่ว่าจะเป็น เสียงพูด การลงลายมือชื่อ การใช้แป้นพิมพ์ ซึ่งจัดเป็นคุณลักษณะทางพฤติกรรมของบุคคล ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา และการเรียนรู้ของบุคคลนั้น ๆ จึงทำให้การพิสูจน์บุคคลโดยการใช้ลักษณะทางกายภาพนั้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่า

ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการใช้ Biometric ประเภทนี้ก็คือ ใช้ง่าย เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ เนื่องจากไม่ต้องนำอวัยวะที่ไวต่อการติดเชื้อ (เช่น ดวงตา) ไปสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านข้อมูล Biometrics


กระบวนการในการตรวจสอบ หรือระบุตัวบุคคลด้วยไบโอเมตริกซ์ไม่ว่าจะเป็น การใช้ลักษณะเฉพาะแบบใดก็ตาม จะมีขั้นตอนเหมือนกันดังต่อไปนี้
  1. ผู้ใช้ระบบต้องทำการให้ตัวอย่าง (Samples) ของลักษณะทางไบโอเมตริกซ์ ที่จะใช้ หรือเป็นการลงทะเบียนเริ่มต้นก่อนที่จะทำการใช้ระบบ
  2. ตัวอย่างทางไบโอเมตริกซ์ที่ถูกเก็บมาในขั้นตอนแรก จะถูกทำการแปลงและจัดเก็บ ให้เป็นแม่แบบ (Template) ที่จะใช้ในการเปรียบเทียบ
  3. เมื่อผู้ใช้ต้องการที่จะใช้ระบบ ก็จะถูกตรวจสอบ หรือระบุผู้ใช้ โดยทำการเก็บตัวอย่างทาง ไบโอเมตริกซ์ ของผู้ใช้และทำการเปรียบเทียบกับ แม่แบบ (Template) ที่เก็บไว้ แล้วทำการตรวจสอบความเหมือนของตัวอย่างกับแม่แบบ จากนั้นก็จะทำการอนุญาต หรือปฏิเสธ การเข้ามาใช้งานระบบของผู้ใช้
เราเรียกขั้นตอนที่ 1 และ 2 ว่าเป็นขั้นตอนของการลงทะเบียน (Enrolment) ซึ่งจะเป็นการทำเพียงครั้งเดียว ก่อนการที่จะเริ่มใช้งาน ส่วนขั้นตอนที่ 3 เป็นกระบวนการตรวจสอบ (Authentication) หรือ ระบุตัวผู้ใช้ (Identification) ซึ่งผลของการตรวจสอบหรือระบุตัวผู้ใช้นี้มีผลออกมาได้ 4 กรณีดังนี้
  1. Correct Accept : อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีสิทธิใช้ระบบ เข้าใช้ระบบ
  2. Correct Reject : ปฏิเสธผู้ที่ไม่มีสิทธิใช้ระบบ
  3. False Accept : อนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ เข้าใช้ระบบ จำนวนของ False Accept ถ้าคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซนต์ จะเรียกว่า อัตราการอนุญาตผิดพลาด (False Accept Rate หรือ FAR)
  4. False Reject : ปฏิเสธผู้ใช้ที่มีสิทธิใช้ระบบ ไม่ให้เข้าใช้ระบบ จำนวนของ False Reject ถ้าคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซนต์ จะเรียกว่า อัตราการปฏิเสธผิดพลาด (False Reject Rate หรือ FRR)


ระบบสแกนลายนิ้วมือปัจจุบันมีการใช้เช่นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Tablet ส่วนระบบสแกนฝ่ามือจะปลอมได้ยากกว่าการสแกนลายนิ้วมือ และระบบสแกนฝ่ามือจะมีการตรวจอุณหภูมิ ตรวจระยะความยาวของนิ้วเป็นการเช็คข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น ส่วนระบบสแกนรูม่านตานั้น ปัจจุบันยังไม่ได้รับความนิยมเท่าไรนัก แต่ระบบที่ได้รับความนิยมมากขึ้นคือระบบสแกนหน้า โดยใช้กล้องวีดีโอถ่ายภาพหน้าคน(Face Recognition) ที่จะเดินผ่านประตูแล้วบันทึกรูปหน้าลงฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้แก่ข้อมูลระยะห่างระหว่างดวงตา ความลึกของเบ้าตา ความกว้าง ความยาว ของจมูก ลักษณะของโหนกแก้ม และ โครงหน้า รูปร่างของปาก กราม และ คาง









ความคิดเห็น